สู่เศรษฐกิจโลกสีเขียวสำหรับแรงงาน

ภาพด้านหลังของผู้หญิงสวมหมวกฟางปีกกว้างสองคนขณะทำงานในท้องทุ่งที่มีพืชสูงสีเขียวคล้ายหญ้า
เกษตรกรหญิงในทุ่งนาในประเทศเนปาล

ลองนึกภาพชาวนาและลูกของเธอในเนปาล ลองนึกภาพที่ดินของพวกเขาที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้เนื่องจากน้ำท่วม ลมมรสุม ดินถล่ม และระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำลายพืชผลของพวกเขา ชาวนาคนนั้นและลูกของเธออาจต้องเริ่มอพยพตามฤดูกาลไปอาศัยใกล้กับโรงเผาอิฐ ซึ่งปัจจุบันมีเด็กๆ อาศัยอยู่ประมาณ 34,000 คน กว่าครึ่งหนึ่งของเด็กเหล่านี้ทำงานในโรงเผาอิฐ สูญเสียเวลาในวัยเด็กและเสี่ยงต่อความปลอดภัยเพื่อช่วยให้ครอบครัวอยู่รอด

นี่เป็นเพียงภาพเล็กๆ ของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ในความเป็นจริง เด็กมากกว่าครึ่งพันล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับน้ำท่วมสูงมาก และเด็กมากกว่า 150 ล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งสูง ไม่ว่าในกรณีใด ครอบครัวเหล่านี้มักจะถูกบังคับให้รับงานที่มีค่าแรงต่ำลงเพื่อเพื่อให้มีรายได้พอประทังชีวิต โดยที่นายจ้างใช้ประโยชน์จากความสิ้นหวังของพวกเขา

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (Bureau of International Labor Affairs, ILAB)ในสังกัดของกระทรวงแรงงาน ทำงานเพื่อเสริมสร้างสิทธิแรงงานทั่วโลก และต่อสู้กับการละเมิดอย่างร้ายแรง เช่น การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ ซึ่งหมายถึงการสร้างความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นระหว่างสภาพภูมิอากาศและสิทธิแรงงาน

แต่ถึงกระนั้น บ่อยครั้งที่แรงงานเป็นประเด็นรองทั้งในการกำหนดนโยบายสภาพภูมิอากาศระดับชาติและโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคม "สีเขียว" ขององค์กร บริษัทพลังงานสะอาดต่างๆ ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือภาคอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน อาจแสดงให้เห็นถึงความพยายามด้านความยั่งยืน แต่เรามักจะเห็นว่าพนักงานถูกกันไว้นอกกระบวนการตัดสินใจ การกีดกันเช่นนี้เสี่ยงที่จะทอดทิ้งประชากรทั้งหมดไว้ข้างหลัง และอาจทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากแรงงานและชุมชนคนทำงานซึ่งเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ต้องพยายามปรับตัวและบรรเทาผลกระทบ

มีโอกาสมากมายและมีความจำเป็นที่บริษัทต่างๆ จะก้าวไปให้ไกลกว่าโมเดลการปฏิบัติตามกฎระเบียบทางสังคมแบบผิวเผินที่ดูดีเพียงจากมุมมองการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับสิทธิ์เข้าร่วมในการสนทนา หากเป็นไปได้ บริษัทต่างๆ สามารถร่วมทำข้อตกลงที่มีผลผูกพันและบังคับใช้ได้ระหว่างผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และแบรนด์ใหญ่ๆ โดยให้มีส่วนร่วมทั้งบริษัทต่างๆ และองค์กรที่นำโดยแรงงานซึ่งรวมถึงสหภาพแรงงาน เครื่องมือ Comply Chain ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศจะช่วยให้บริษัทต่างๆ เพิ่มขีดความสามารถของพนักงานให้มีบทบาทสำคัญในการระบุและจัดการกับปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานและข้อกังวลอื่นๆ ในสถานที่ทำงาน 

เมื่อกล่าวถึงการลงทุนของรัฐบาลในด้านพลังงานหมุนเวียน "การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition)" ที่มุ่งเน้นแรงงานจะหมายถึงการสร้างงานที่ดีในสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและเคารพสิทธิของแรงงาน นอกจากนี้ ยังควรมีการคุ้มครองทางสังคมที่ยั่งยืนสำหรับแรงงานที่ถูกไล่ออกหรือตกงานด้วย 

ในการสนทนาทั้งหมดนี้ พนักงานและองค์กรต้องอยู่ร่วมวงสนทนาตั้งแต่เริ่มแรก นั่นเป็นเพราะเมื่อพนักงานมีสิทธิ์มีเสียง พวกเขาสามารถเปิดโปงการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานและต่อรองร่วมกันเพื่อให้ได้ค่าจ้างและสภาพการทำงานที่ดีขึ้นได้ แรงงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นธรรมและมีสิทธิ์มีเสียงจะสามารถดูแลครอบครัวของตนได้ พวกเขาไม่จำเป็นเผชิญกับความเจ็บปวดที่ต้องส่งลูกๆ ไปทำงานเพียงเพื่อความอยู่รอด ซึ่งนี้ไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองที่แข็งแกร่งและยั่งยืนอีกด้วย 

ที่กระทรวงแรงงาน เรากำลังผลักดันให้นโยบายการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้เกิดผลสำหรับครอบครัวที่ทำงานทั่วโลก ตัวอย่างเช่น เรากำลังร่วมมือกับองค์กรการศึกษาโลก (World Education) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรท้องถิ่นในเนปาล ในโครงการมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงของประเทศต่อความเสี่ยงในการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ในเดือนมิถุนายน เราจะเฉลิมฉลองวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลกด้วยการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมและประชาคมโลก

นโยบายสภาพภูมิอากาศที่ยึดแรงงานเป็นศูนย์กลางไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อลดอุณหภูมิหรือป้องกันพายุไซโคลน แต่จะช่วยสร้างชุมชนที่มีความยืดหยุ่น สนับสนุนครอบครัวที่ทำงานเพื่อปกป้องเด็กๆ จากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ และสร้างอนาคตพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

เด็กชายถือไม้กระดานไม้ที่สถานที่ก่อสร้าง

 

Thea Lee เป็นรองปลัดกระทรวงด้านกิจการระหว่างประเทศของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ติดตาม ILAB บน X/Twitter ได้ที่ @ILAB_DOL และ บน LinkedIn